Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการปฏิบัติราชการประจำปี
แผนดำเนินงาน
แผนติดตามประเมินผลแผนประจำปี
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
บุคลากร
คณะผู้บริหารฝ่ายการเมือง
สมาชิกสภา
ผู้บริหารฝ่ายข้าราชการประจำ
สำนักปลัดเทศบาล
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
หน่วยตรวจสอบภายใน
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
ฐานข้อมูลต่างๆ
ฐานข้อมูลต่างๆ
การจัดการเรื่องทุจริต
คู่มือร้องเรียนการทุจริต
ช่องทางการร้องเรียนการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
ข้อมูลเชิงสถิติประจำปี
รายงานผลการป้องกันการทุจริตประจำปี
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รายงานงบแสดงฐานะการเงิน
รายงานการประชุมสภาเทศบาล
คู่มือเจ้าหน้าที่
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง
เทศบัญญัติเทศบาลตำบลดอนประดู่
เว็บบอร์ด
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
Facebook
E-SERVICE
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจ
แจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดรุกล้ำทางสาธารณะ
ติดต่อเรา
ติดต่อหน่วยงาน
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน




หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา

     ในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ สมัยรัชกาลที่ ๓ ฝ่ายแขกสะสมกำลังเข้มแข็งมากขึ้น ตนกูอะมัสสะอัด , ตนกูอับดุลละห์ หลานพระยาไทรบุรีกับหวันบาหลี แขกสลัด พร้อมใจกันยกเข้าตีเมืองไทรบุรีแตกอีกครั้ง พระยาไทรบุรี(แสง ณ นคร ) หนีมาอยู่กับพี่ชายที่เมืองพัทลุงเหมือนกับ ครั้งก่อน เมื่อพวกแขกตีเมืองไทรบุรีได้แล้ว ก็ยกทัพไปตีเมืองตรังอีกทัพหนึ่งและแยกไปตีสงขลาอีกทัพหนึ่ง
   
     ทางสงขลาพวกแขกยกทัพไปตีได้ถึงปลักแรด เขารูปช้าง ฝ่ายเมืองพัทลุงกับเมืองนครศรีธรรมราชก็เกณฑ์ทัพให้พระยาไทรบุรี ไปตีเอาไทรบุรีคืน ฝ่ายหนึ่งให้พระปลัดจุ้ย(จุ้ย 
จันทโรจน์วงศ์) ยกไปตีทางสตูลกองหนึ่ง  คราวนี้ต้องทำศึกมากเพราะเป็นศึกหลายด้าน เฉพาะสตูลต้องรบกันถึงขั้นตะลุมบอนฝ่ายไทยน้อยกว่าสู้แขกไม่ได้ต้องถอยร่น แขกตามมาตีถึงดอนประดู่ ฝ่ายไทยตั้งค่ายกันทัพที่บ้านดอนประดู่ โดยมีแม่กองช้างชื่อ ขุนไชยคีรี ชาวบ้านบางใคร (พ่อของขุนไชยคีรี พรหมทอง ต้นตระกูล ไชยคีรี ปู่ของอาจารย์ชุม ไชยคีรี) เป็นหัวหน้ารวมกำลังต่อต้านกองทัพแขก รบกันจนล้มตายมากมายทั้งสองฝ่าย จนปรากฏมีคูค่าย มีป่าช้าแขกอยู่ทางทิศใต้ ป่าช้าไทยอยู่ทางทิศเหนือในบริเวณชุนชนดอนประดู่ ฝ่ายกองทัพหลวงของไทยเข้าตีแขกทางปลักแรด ถอยกลับไม่ได้ ก็ยกกองทัพมาตั้งรับแขกอยู่ที่ด่านทางรวมไปพัทลุง สตูล และสงขลา คราวนี้ฝ่ายไทยทำค่ายด้วยต้นกล้วยป่า พอรวมกำลังกันได้ก็เข้าโจมตีแขกยึดเมืองสตูลกลับคืนมาได้ และเข้าตีทัพแขกที่ดอนประดู่ แตกพ่ายไปทางเมืองตรัง
     
     ปัจจุบันป่าช้าแขกไม่มีแล้ว เหลือเพียงป่าช้าไทยซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ ป่าช้าค่ายไทรบ้าง ป่าช้าค่ายพระยาไทรบ้าง ป่าช้าค่ายชะไทรบ้าง แต่ลูกหลานชาวบ้านดอนประดู่เรียก
เป็นทางการว่า ฌาปนสถานค่ายพระยาไทรบุรี ” ส่วนด่านทางรวมไปพัทลุง สตูล และสงขลานั้น ปัจจุบันเป็นบริเวณบ้านค่าย ตั้งอยู่ที่ชุมชนบ้านห้วยลึก มีศาลาอยู่หน้าค่ายในอดีตปรากฏอยู่ แต่ปัจจุบันชำรุดไปหมดแล้ว ส่วนผู้คนที่หลบหนีข้าศึกไปขุดหลุมหลบซ่อนอยู่นั้น ก็อพยพไปปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่บริเวณที่เรียกว่า “ บ้านเพิง ” ปัจจุบันคือบ้านหัวไทร ตำบลห้วยลึกแห่งหนึ่ง และตำบลดอนประดู่แห่งหนึ่ง โดยมีลำน้ำผ่านกลาง
    
     นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานอ้างอิง เรื่องการรบกับทัพแขกที่สตูล พัทลุง และสงขลา ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓ จากหอสมุดแห่งชาติที่อาจารย์สมนิด โกศัยกานนท์ 
ลูกหนังอิ่ม จอแพร(อิ่ม โกศัยกานนท์) กำนันคนที่ ๒ ของตำบลห้วยลึกบันทึกไว้ในหนังสือ “ ต้นตระกูล ” พิมพ์เมื่อปี ๒๕๔๒ ว่า
     “โจรสลัดเมื่อตีเมืองตรัง พัทลุง และขอบเขตชายแดนของสงขลาได้หมดแล้ว เตรียมตัวบุกตีเมืองสงขลาต่อไป เจ้าพระยาสงขลานำกำลังส่วนหนึ่งมาตั้งรับที่บ้านห้วยลึก 
เพราะห้วยลึกสมัยนั้นเป็นทางผ่านเข้าศึกเดินทัพทางบกจากพัทลุงไปสงขลา ค่ายที่บ้านห้วยลึกของเจ้าพระยาสงขลาจึงต้องเข้มแข็งมาก และนี่เองจึงเป็นที่มาของคำว่า “ บ้านค่าย ” ส่วนพวกข้าศึกชาวไทร ที่ยกมาจากพัทลุง มาตั้งค่ายอยู่เหนือวัดดอนประดู่ แถบนั้นจึงเรียกว่า “ ค่ายชาวไทร ” จนถึงปัจจุบัน ศึกชาวไทรคราวนั้นเป็นที่หวาดกลัวของผู้คนเป็นอันมาก ปรากฏว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งหนีไปขุดหลุม ขุดเพิงหลบซ่อน แถบนั้นจึงเรียกว่า “ บ้านเพิง ” (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปากพะยูน)
  
     ชุมชนบางใคร
     ชุมนบางใครเป็นชุมชนใหญ่เก่าแก่ที่มีมาก่อนดอนประดู่และห้วยลึก ปัจจุบันเป็นป่าเสม็ด กลางป่ามีเนินดิน(บัว) ซากปรักหักพัง ชาวบ้านเรียกว่า “ เขื่อน ” ซึ่งตั้งอยู่ในเขต
ตำบลห้วยลึก อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ห่างจากดอนประดู่ประมาณ ๕ กิโลเมตร
     ชุมชนบางใคร ล่มสลายไปเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ พร้อม ๆ กับชุมชนเก่าแก่บริเวณริมทะเลสาบสงขลา คือ ท่าเลียบ และทุ่งแพร ส่วนชุมชนที่ยังปรากฏอยู่จากริมทะเลสาบ
ขึ้นมาตามสายน้ำลำคลอง คือ ชุมชนหัวไทร (บ้านเพิง) ดอนประดู่ ห้วยลึก หัวเตย บ้านผลุ้ง และหนองจีน (โคกทราย)
     หลังจากการทำสงครามกับแขกใน พ.ศ. ๒๓๗๗  ลูกน้องของขุนไชยคีรี นายกองช้างถูกกวาดต้อนบ้างล้มตายจากการสู้รบบ้าง ที่ยังคงอยู่ก็มีขุนไชยคีรี กับพรรคพวก นอกนั้น
ก็อพยพไปตั้งหลักแหล่งสู่ชุมชนดอนประดู่ และชุมชนใกล้เคียง
     หมดยุคของขุนไชยคีรีผู้พ่อ ขุนไชยคีรี(พรหมทอง) รุ่นลูก (ต้นตระกูลไชยคีรี) ก็เป็นผู้นำชุมชนต่อจนปลดช่วงอำนาจให้กับหมื่นไชยคีรี (ทุ่ม) ซึ่งได้อพยพมาอยู่ที่ดอนประดู่ 
สร้างหลักปักฐาน หักร้างถางพง เลี้ยงช้าง สร้างสวนที่บริเวณบ้านควนเผยอ(ควนทรุด) ปัจจุบันสวนของหมื่นไชยคีรีก็คือวัดควนเผยอ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลดอนประดู่
     จากคำบอกเล่าและหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าชุมชนบางใคร หมดความสำคัญลงเป็นลำดับเพราะผู้นำชุมชนมีศักดิ์ลดลงเป็นหมื่น ซึ่งเทียบเท่ากับผู้ใหญ่บ้าน ส่วน
ชุมชนตำบลดอนประดู่มีการขยายตัวของชุมชนหนาแน่นมากขึ้น จากคำบอกเล่าของลูกสาวคนสุดท้องของหมื่นไชยคีรีว่า เคยตามพ่อไปประชุมกับท่านขุน(ขุนห้วยลึกประชาราษฎร์) ที่ห้วยลึกประจำ แสดงให้เห็นว่าชุมชนห้วยลึก(ตำบลดอนประดู่) เป็นชุมชนใหญ่ในละแวกนั้นในยุคหลัง
  
     ชุมชนทุ่งแพร
     ชุมชนทุ่งแพร เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับชุมชนบ้านท่าหยี ตำบลห้วยลึก เดิมเป็นชุมชนชาวจีน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของชุมชนบางใคร ปัจจุบันเป็นป่า เป็นทุ่งนา ไม่ปรากฏ
หลักฐาน  แต่มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่า เหตุที่เรียกทุ่งแพร เพราะเป็นตลาดนัดขายผ้าแพรของชาวจีน เนื่องจากมีเรือสำเภาล่ม จึงเอาผ้าแพรมาผึ่งแดด ปัจจุบันบริเวณที่เรือล่ม ชาวบ้านเรียกว่า “ กูลั่ม ” อยู่ในลูกเล เลยจากทะเลเหวนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
     ชุมชนทุ่งแพรนับเป็นตลาดนัดแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต มีชาวจีนแล่นเรือมาค้าขายตั้ง “ กงสี ” และเป็น “ ยี่ปั๊ว ” ขายสินค้า ชาวบ้านจากหนองจีน ห้วยลึก บ้านเพิง 
ดอนประดู่ ท่าเลียบ ปากพะยูน จะนำผลผลิตมาแลกเปลี่ยนและขายบริเวณนี้ เนื่องจากเป็นเส้นทางเดินเรือสายหลักที่ผ่านจากสงขลาเข้าที่ปากรอถึงท่าหยี วกเข้าคลองท่าหยี เข้าลูกเล ถึงทุ่งแพร ออกจากทะเลเหวนผ่านท่าเลียบเข้าถึงปากพะยูน
     สันนิษฐานว่า เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ การค้าทางเรือระหว่างไทยกับจีนยุติลง เพราะสมัยรัชกาลที่ ๔ หันไปสนับสนุนการค้ากับยุโรป และช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ไทยประสบ
ปัญหาสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งคุมการค้าอยู่ทางใต้ ทำการค้าขายทางเรือไม่สะดวก ตลาดทุ่งแพรที่เคยคึกคัก บางใคร ชุมชนใหญ่ก็มีผู้คนลดน้อยลง ลูกหลานของคนจีนโพ้นทะเลที่มีครอบครัวกับคนไทยก็หาหนทางอพยพไปค้าขายยังชุมชนอื่นที่มีทำเลประกอบอาชีพดีกว่า ผู้คนที่อพยพออกจากบ้านบางใครและทุ่งแพรน่าจะอพยพไปตามลำคลอง ๓ – ๔ ทาง ด้วยกัน คือ
          ๑. ล่องไปตามทะเลไปขึ้นที่เกาะแกง หรือท่าเตียน
          ๒. อพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าไหลริมทะเลเหวน
          ๓. อพยพไปทางปากคลองหัวควนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองหัวควน ใกล้ควนปิไหง
          ๔. อพยพไปตามทะเลเหวน เข้าคลองหัวไทร ไปห้วยลึก ดอนประดู่ หัวเตย หนองจีน หรือบางพวกอาจจะเลยไปตามคลองใสท้อน ขึ้นใสใหญ่หรือพรุพ้อก็มี
       
ก่อตั้งตำบลดอนประดู่ 
     ตำบลดอนประดู่เดิม คือ ตำบลห้วยลึกตั้งอยู่เขตการปกครองของอำเภอทักษิณ จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีเขตการปกครองรวมไปถึงอำเภอปากพะยูน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าบอน 
ของจังหวัดพัทลุง รวมถึงอำเภอรัตภูมิ บางกล่ำ ควนเนียง ของจังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า มีการก่อตั้งชุมชนห้วยลึกขึ้นเป็นตำบลห้วยลึก และแต่งตั้งตำแหน่งขุนเป็นในสมัยรัชกาลที่ ๕ จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ขุนห้วยลึกประชาราษฎร์(สงค์) ต้นตระกูลมุสิกะศิริ เป็นกำนันคนแรก ของตำบลห้วยลึก และมีหมื่นไชยคีรี(ทุ่ม) ลูกของขุนไชยคีรี (พรหมทอง) เป็นผู้ใหญ่บ้านดอนประดู่ หลังจากแยกการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๙๗ จึงจัดตั้งชุมชนดอนประดู่ เป็นตำบลดอนประดู่ และแยกตำบลห้วยลึกให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ซึ่งสมัยนั้นอำเภอรัตภูมิ ยังตั้งอยู่ที่ปากบางภูมี ส่วนตำบลดอนประดู่ก็แยกให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปากพะยูน ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่แยกมาจากอำเภอทักษิณ และแบ่งเขตการปกครองเป็น ๑๑ หมู่บ้าน ประกอบด้วยกลุ่มบ้านต่าง ๆ คือ
          หมู่ที่ ๑ บ้านทางทราย ปากศาลา โคกคอแห้ง
          หมู่ที่ ๒ บ้านท่าไหล
          หมู่ที่ ๓ บ้านหัวควน 
          หมู่ที่ ๔ บ้านดอนประดู่ สวนยาง โคกโพธิ์ ม่วงใหญ่ โคกฉัดกร้อ หนองโหน
          หมู่ที่ ๕ บ้านกล้วยเภา บ้านเก่า ประดู่หอม ทุ่งนอก
          หมู่ที่ ๖ บ้านหัวควนตก บ่อมุด หัวเกาะกุน
          หมู่ที่ ๗ บ้านชายพรุ หนองคัน ป่าพ้อ โหนดแถว หัวเปลว สวนเหรียง โคกม่วง ม่วงเตี้ย เสือบูรณ์ ดอนกลาง ดอนรักษ์
          หมู่ที่ ๘ บ้านห้วยเผยอ หารแพะ คลองเรือ
          หมู่ที่ ๙ บ้านไทรพอน ควนน้อย ควนขุด
          หมู่ที่ ๑๐ บ้านควนเผยอ ควนดิน
          หมู่ที่ ๑๑ บ้านชายห้วย แหลมยาง 
   
คำขวัญตำบลดอนประดู่
     “ พ่อท่านบางใคร  ควนปิไห  ค่ายพระยาไทรบุรี  สะตอรสดี  พื้นที่ทำนา  แหล่งปลาหารอ่างทอง ”
     พ่อท่านบางใคร
     เป็นพระปางอุ้มบาตร ความสูงจากฐาน ๑ เมตร แกะสลักด้วยไม้สวยงามมาก จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าว่าเป็นพระที่เก่าแก่ของวัดบางใครที่ล่มสลายไปแล้ว เป็นที่
เคารพสักการะของชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างมาก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดดอนประดู่ เป็นพระลากประจำเรือพระของวัดดอนประดู่ ในประเพณีลากพระ และทุกวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ จะมีการสรงน้ำ ทุกวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของชาวบ้านดอนประดู่ จะอันเชิญขึ้นเรือพระ ไปร่วมงานประเพณีมิได้ขาด
     ควนปิไห
     เป็นควนใหญ่ที่สูงที่สุดของอำเภอปากพะยูน สันนิษฐานว่าในอดีตคงเป็นเกาะใหญ่ในทะเลสาบสงขลา ไม่ต่างจากเกาะนางคำ และเกาะหมาก เล่าขานกันว่ามีคนขุดพบ
สมบัติปีละ ๑ ไห จึงเรียกว่า “ ควนปิไห ” บางคนเรียก ปิไหง หรือไปไหน เป็นที่ตั้งของตาหมอเทพ
  
     ค่ายพระยาไทรบุรี
     เป็นที่ตั้งค่ายของพระยาไทรบุรี ตนกูมัสสะอัดและตนกูอับดุลละห์ ที่ยกทัพเข้ามาตีเมืองพัทลุง และมาตั้งค่ายที่บ้านดอนประดู่ บริเวณสามแยกดอนประดู่ ปัจจุบันเป็นฌาปน
สถานของชาวบ้านดอนประดู่
  
     สะตอรสดี
     ผลผลิตหนึ่งที่ขึ้นชื่อของตำบลดอนประดู่ คือ “ สะตอข้าว ” แห่งควนปิไห ในอดีตสะตอข้าวจะถูกลำเลียงไปลงเรือด่วนไปบ่อยาง(สงขลา) ส่งผ่านไปขายยังอำเภอต่าง ๆ มาก
มาย จนผู้คนที่ผ่านอำเภอปากพะยูนแล้วต้องถามหา ปัจจุบันร่อยหรอไปมากและอยู่ในช่วงที่กำลังรื้อฟื้นให้ชาวบ้านปลูกพืชแซมยาง
  
     พื้นที่ทำนา
     ตำบลดอนประดู่ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของอำเภอปากพะยูน มีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองหลายหลากพันธุ์เนื่องจากสภาพเป็นพื้นที่ชุ่มดินอุ้มน้ำเหมาะแก่การทำนา ในอดีตชาวบ้านในตำบล
ดอนประดู่ส่วนใหญ่มีฐานะ เป็นเศรษฐีชาวนา มีเรือนข้าวหลังใหญ่ ผลิตได้ครัวเรือนละหลายเกวียน ยามหน้าข้าวจะมีข้าวมากมายเรียงไว้เป็นลอมที่หน้าท่าข้าวเพื่อรอหาบขึ้นบ้าน พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในอดีต ได้แก่ พันธุ์ช้างอุ้ม ข้าวทราย ข้าวระเด่น ข้าวนางทอง ข้าวบางขัน ข้าวจีน ข้าวเหนียวจ้าวบน ข้าวหัวนา ข้าวจังหวัด
  
     แหล่งปลาหารอ่างทอง
     หารอ่างทองเป็นแหล่งน้ำใหญ่ที่สำคัญของชาวตำบลดอนประดู่ในการทำการเกษตรและเป็นแหล่งพันธุ์ปลาที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีมากมายหลายชนิดเนื่องจากมีสภาพเป็น ดิน
ผสมโคลนทราย ทำให้ปลาที่ได้จากหารอ่างทองมีรสชาติที่อร่อยแตกต่างจากปลาที่ได้จากแหล่งน้ำอื่น ๆ

เทศบาลตำบลดอนประดู่

เลขที่ 186 หมู่ที่ 7 ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง 93120
โทรศัพท์ : 074-610715  โทรสาร : 074-610716  อีเมล์ : 
saraban-donpradoo@lgo.mail.go.th
Powered By donpradoo.go.th